กีฬาเทนนิส
ประวัติเทนนิสในประเทศไทย
การเริ่มเล่นของ กีฬาเทนนิส ในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำกีฬาเทนนิสเข้ามาสู่ประเทศไทยและในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มเล่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวอังกฤษและอเมริกันที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ในขณะนั้นคนไทยยังไม่สนใจการเล่นเทนนิสมากนัก คงเล่นกันในหมู่คนต่างชาติ ต่อมาจึงมีเจ้านายคนไทยชั้นสูง และข้าราชการชั้นสูงเริ่มเล่นลองเทนนิสกัน
ครั้งนั้นนักเทนนิสไทยบางท่านนุ่งผ้าม่วง เล่นเทนนิส บางคนระหว่างการเล่นก็กินหมาก ต่อมาจึงนุ่งกางเกงขายาว และต้องสีขาวตามแบบฉบับของชาวฝรั่ง ถือว่าเล่นเทนนิสต้องนุ่งกางเกงขายาวสีขาวเป็นการสุภาพกว่าขาสั้น
จนกระทั่งในราวปี พ.ศ. 2460 ประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้น จึงมีการตั้งสโมสรเทนนิสขึ้นอย่างเป็นทางการแห่งแรกที่พระราชอุทยานสราญรมย์ มีสมาชิกครั้งแรกเพียง 10 คน ต่อมาเปลี่ยนสถานที่ไปเล่นที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แต่ก็ล้มเลิกไปในที่สุด ในระหว่างนั้นก็มีอีกสโมสรหนึ่งที่มีการเล่นลอนเทนนิสคือ บางกอกยูไนเต็ดคลับ แต่เป็นสนามซีเมนต์เพียงสนามเดียว และมีเอกชนตั้งสโมสรลอนเทนนิสขึ้นหลายแห่ง เช่น บริษัทบอร์เนียว บริษัท บอมเบย์เบอร์มา ที่บ้านมิสเตอร์คอลลิน
ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และยังมีการเล่นลอนเทนนิสที่บ้านมิสเตอร์ลอฟตัส ซึ่งอยู่ใกล้โรงเรียนนายเรือ ธนบุรี บ้านหมอแม็คฟาแลนด์ ที่โรงพยาบาลศิริราช และบ้านมิสเตอร์บัสโฟร์ หลังกองทัพเรือ สำหรับในหมู่คนไทยเช่นที่กระทรวงเกษตร สโมสรโรงเรียนนายเรือ
ในปี พ.ศ. 2469 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงจัดตั้งลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสโมสรเทนนิส 12 สโมสรคือ ราชกรีฑาสโมสร สโมสรรถไฟ สโมสรกีฬาอังกฤษ สโมสรกีฬาสามัคยาจารย์ สโมสรนครสวรรค์ สโมสรสีลม สโมสรลำปาง สโมสรนวรัฐ สโมสรเชียงใหม่ยิมคานา สโมสรสงขลา สโมสรกลาโหมและสโมสรภูเก็ต ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมกันเป็นครั้งแรกที่วังกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในที่ประชุมก็ได้ลงมติเอกฉันท์ให้ตั้ง “ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย” และได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกของลอนเทนนิสสมาคมเป็นคนแรก พร้อมทั้งได้ออกกฎข้อบังคับของสมาคมฯขึ้นใช้เป็นมาตรฐานทั่วไป ซึ่งได้ใช้เป็นบรรทัดฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้

กีฬาเทนนิสในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาก ในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนั้นนักเทนนิสประเภทคู่ผสมของไทย คือ จารึก เฮงรัศมี นักเทนนิสชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุทธาสินี ศิริกายะ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ปัจจุบันมีนักเทนนิสไทยอยู่ในระดับโลกหลายคน และหวังว่าทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย คงมีแผนงานระยะยาวที่จะทำให้กีฬาเทนนิสเมืองไทยมีมาตรฐานเท่าเทียมกับประเทศอเมริกาและกลุ่มในประเทศยุโรป
การนับคะแนน
วิธีการนับแต้มของกีฬาเทนนิส คือ แต้มที่ 1 นับ 15 แต้มที่ 2 นับ 30 แต้มที่ 3 นับ 40 หากผู้เล่นคนใดได้แต้มที่ 4 ก่อน จะถือว่าเป็นผู้ชนะในเกมแต่ถ้าในกรณีที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้แต้มสามแต้ม เท่ากันให้ขานแต้มว่า ดิวซ์ (Deuce) ฝ่ายได้แต้มก่อนให้ขานแต้มว่า ได้เปรียบ และถ้าผู้เล่นคนเดิมได้แต้มต่อไปอีกหนึ่งแต้ม ผู้เล่นคนนั้นชนะในเกมทันที แต่หากยังไม่ได้แต้ม ต้องมาดิวซ์กันใหม่จนกว่าจะมีฝ่ายใดได้ 2 แต้มติด จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
ส่วนที่มาของการนับแต้ม 15, 30, 40 มาจากสมัยก่อนใช้นาฬิกาในการขึ้นคะแนน โดยเข็มสั้นและเข็มยาวเป็นตัวแทนผู้เล่น มีวิธีการนับดังนี้
แต้มที่ 1 นับ 15 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 3 ขานแต้มว่า Fifteen
แต้มที่ 2 นับ 30 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 6 ขานแต้มว่า Thirty
แต้มที่ 3 ในกีฬาเทนนิสจะนับ 45 เลื่อนเข็มนาฬิกาไปที่เลข 9 ขานแต้มว่า Forty-five จนกระทั่งปี ค.ศ. 1875 สโมสร Marylebone Cricket Club (MCC) ในอังกฤษซึ่งเป็นผู้ออกกฎกติกาเทนนิสสมัยใหม่ ได้เปลี่ยนมานับแต้มที่สามเป็น 40 หรือ Forty แทน เพื่อให้กรรมการออกเสียงง่ายขึ้น
แต้มที่ 4 เข็มนาฬิกาไปที่เลข 12 ขานแต้มว่า เกมส์ (Game) เป็นอันจบเกม

วิธีการเล่นเบื้องต้น
ลูกการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ (serving) คือ การตีส่งบอลครั้งแรกของคะแนนนั้นๆไปให้คู่แข่ง ประเภทผู้เล่นเดี่ยวจะผลัดกันเสิร์ฟฝ่ายละ 1 เกมไปเรื่อยๆ ส่วนในการเล่นประเภทคู่ ผู้เล่นทั้งสองคนในฝ่ายเดียวกันจะต้องผลัดเสิร์ฟคนละ 1 เกมด้วย (ฝ่ายหนึ่งผลัดเสิร์ฟในเกมคี่ ฝ่ายหนึ่งผลัดเสิร์ฟในเกมคู่)การตีลูกกลับ
ผู้เสิร์ฟและผู้รับ
ผู้เล่นจะต้องอยู่คนละฝั่งของตาข่าย ผู้ที่ส่งลูกก่อนคือ “ผู้เสิร์ฟ” ส่วนอีกฝ่ายคือ “ผู้รับ” ในกรณีที่ผู้เล่นพยายามเสิร์ฟลูกล้ำแนวเส้นสมมติที่ลากตรงต่อจากตาข่ายออกไป จะถือว่าไม่เสียแต้ม เว้นแต่ผู้เล่นจะเสิร์ฟล้ำเข้าไปในสนามของคู่ต่อสู้ ทั้งนี้ผู้รับสามารถยืนอยู่ในตำแหน่งใดของสนามในด้านของตนเองก็ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในเส้นขอบของสนาม
การเสิร์ฟลูกที่สอง
เมื่อเสิร์ฟลูกแรกเสีย ผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกลูกหนึ่งจากหลังสนามด้านเดิมที่เสิร์ฟลูกแรกไปแล้ว แต่ในกรณีลูกแรกที่เสิร์ฟเสียนั้นเป็นเพราะผู้เสิร์ฟยืนผิดด้าน ให้ผู้เสิร์ฟ เสิร์ฟใหม่อีก 1 ลูก จากหลังอีกด้านหนึ่ง
ลูกเสิร์ฟเสีย
ในกรณีที่ถือว่า ลูกเสิร์ฟเสีย มีดังนี้
1. ผู้เสิร์ฟทำผิดกติกา
2. ผู้เสิร์ฟตีลูกอย่างเจตนา แต่ไม่ถูก
3. ลูกที่เสิร์ฟไปนั้น สัมผัสสิ่งติดตั้งถาวรอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนสัมผัสพื้น (ยกเว้นตาข่ายและแถบขึงตาข่าย)
แต่ในกรณีที่หลังจากโยนลูกเพื่อเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟเปลี่ยนใจไม่ตีลูกแล้วใช้มือรับลูกไว้ จะถือว่าลูกนั้นไม่เสีย
ลำดับการเสิร์ฟ
เมื่อจบเกมแรก ผู้รับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้เสิร์ฟ และผู้เสิร์ฟต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับ สลับกันเรื่อยไปจนกว่าจะจบการแข่งขัน แต่ถ้าผู้เล่นคนใดเสิร์ฟผิดรอบ ผู้เล่นที่ควรจะเป็นผู้เสิร์ฟจะต้องเป็นผู้เสิร์ฟต่อไปทันที
การตีลูกกลับ
1. เมื่อลูกข้ามตาข่ายมาแล้ว สามารถตีลูกกลับไปในแดนคู่แข่ง โดยที่ลูกบอลอาจจะยังไม่กระทบพื้นสนามเลยก็ได้ หรือลูกกระทบพื้นสนามฝ่ายของเรามาแล้วไม่เกิน 1 ครั้งก็ได้
2. ต้องตีลูกบอลกลับภายในครั้งเดียว
3. การตีลูกบอลกลับแล้วลูกสัมผัสตาข่ายข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามถือว่าไม่ผิดกติกา
4. ผู้เล่นฝ่านใดไม่สามารถตีลูกบอลกลับไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามได้โดยถูกกติกา จะต้องเสียคะแนนนั้นให้คู่แข่ง
การสลับแดน
การสลับแดน สลับแดนเมื่อเกมรวมกันเป็นเลขคี่และเมื่อจบเซ็ต แต่หากจบเซ็ตโดยเกมรวมกันเป็นเลขคู่ จะสลับแดนหลังจากจบเกมแรกของเซ็ตถัดไป ส่วนการสลับแดนในการเล่นไทเบรกจะสลับเมื่อคะแนนรวมกันได้ทุก 6 คะแนน
เกมไทเบรก
เกมไทเบรก คือ การเล่นเกมสุดท้ายอันเป็นเกมตัดสิน ในกรณีที่เกมดำเนินมาถึง 6-6 หากผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนถึง 7 พอยท์เป็นคนแรก ผู้เล่นคนนั้นก็จะเป็นผู้ชนะในเกมเซต ซึ่งเกมไทเบรกจะดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีผู้เล่นทำคะแนนนำไปได้ 2 พอยท์ อาทิ 9-7, 16-14 เป็นต้น
การนับแต้มระบบไทเบรก
ใช้ระบบนับแต้มที่เรียกว่า “No Ad Scoring” ซึ่งเป็นวิธีการนับเลขแบบก้าวหน้าเรียงขึ้นไปตามลำดับคือ แต้ม 1, 2, 3, … หากผู้เล่นคนใดได้ 7แต้มก่อน ถือว่าเป็นฝ่ายชนะในเซตนั้น

เทคนิคการเล่นพื้นฐาน
เทนนิสเทคนิคพื้นฐานหรือท่าตีในเทนนิสนั้นมีอะไรบ้าง? หากคนที่เล่นเทนนิสเป็นแล้วก็จะรู้ดีว่า เทคนิคพื้นฐานในเทนนิสนั้นมีอะไรบ้าง ส่วนผู้เริ่มต้นบางคนอาจจะยังไม่รู้และเทคนิคไหนควรจะเริ่มก่อนหรือหลังในผู้ที่เริ่มหัดเล่นใหม่ เทคนิคต่างๆมีดังนี้
1. ความแน่นอน เป็นพื้นฐานของการเล่นเทนนิสทุกระดับ เพราะแต้มเกิดขึ้นจากการตีที่ไม่แน่นอน ตีเสียเองเป็นส่วนใหญ่
2. ความสูงของลูกบอล การตีลูกบอลสูงจะทำให้ลูกบอลข้ามตาข่าย ไม่ติดเน๊ตและเสียแต้มเองง่ายๆๆ นอกจากนี้ยังทำให้ฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ท้ายคอร์ท
3. ทิศทาง การวางลูกไปยังทิศทางและตำแหน่งต่างๆๆ เป็นสิ่งที่นักเทนนิสทุกระดับจำเป็นต้องใช้
4. ความลึกของลูกบอล เป็นเรื่องสุดท้ายของการพัฒนาวิธีการเล่นที่ผู้เล่นในระดับต้องฝึกให้ชำนาญ การตีลูกให้ลึกจะทำให้คู่ต่อสู้ต้องอยู่หลังเส้นท้ายคอร์ท และไม่มีโอกาสบุกเข้ามาทำแต้ม

ก็จบไปแล้วนะครับ สำหรับบทความการเล่น กีฬาเทนนิส เบื้องต้น
ติดตามกีฬาอื่นๆได้ที่ sport-snap
สนับสนุนโดย PG SLOT